กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิด ในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกต มาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาว ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาว ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และสามารถมองเห็นได้ อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า
ชื่อและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
กระจุกดาวลูกไก่ แต่ละดวง ตั้งชื่อตามไพลยาดีส (Pleiades) หญิงสาวพี่น้องเจ็ดคน ในเทพปกรณัมกรีก ได้แก่ Asterope, Merope, Electra, Maia, Taygete, Celaeno, Alcyone และชื่อพ่อแม่ ของพวกนาง คือ แอตลัสกับนางไพลยานี เนื่องจาก นางทั้งเจ็ด เป็นบุตรีของแอตลัส ดังนั้น ไฮยาดีส (กระจุกดาว สามเหลี่ยมหน้าวัว) จึงเป็นพี่น้อง กับพวกนาง
ชื่อและข้อมูล ของดาวสว่าง ในกระจุกดาวลูกไก่ เป็นดังนี้
ดาวที่สว่างที่สุดในกระจุกดาวลูกไก่ |
ชื่อ |
เสียงโดยอักษรไทย |
รหัส |
Alcyone |
อัลไซโอนี |
Eta (25) Tauri |
Atlas |
แอตลัส |
27 Tauri |
Electra |
อิเลกตรา |
17 Tauri |
Maia |
มายา |
20 Tauri |
Merope |
ไมโรพี |
23 Tauri |
Taygeta |
ไทยิตตา |
19 Tauri |
Pleione |
ไพลยานี |
28 (BU) Tauri |
เรื่องเล่าในตำนาน และวัฒนธรรมพื้นบ้าน การที่กระจุกดาวลูกไก่ สามารถมองเห็น ในท้องฟ้ายามค่ำคืนได้ อย่างเด่นชัด จึงเป็นที่รู้จัก ในแทบทุกวัฒนธรรมทั่วโลก นับแต่อดีตกาล ชาวไทยเราเรียกว่า ดาวลูกไก่ หรือ ดาวกฤติกา ชาวญี่ปุ่นเรียก ซุบารุ ชาวจีนเรียก เหม่าซิ่ว (กลุ่มดาวคนผมดก) ส่วนชาวพื้นเมือง ในหมู่เกาะบอร์เนียว เรียกว่า บิตังสโกระ ในพระคัมภีร์ไบเบิล ยังมีการเอ่ยถึง ดาวกลุ่มนี้ โดยเรียกชื่อว่า คิมา (Khima) ในวัฒนธรรมอาหรับ ซึ่งเป็นนักดูดาว มาแต่โบราณ เรียกชื่อดาวกลุ่มนี้ว่า อัล-ทูเรย์ยา (al-Thurayya)
แต่ชื่อของกระจุกดาว ในทางดาราศาสตร์ จะเรียกชื่อในภาษาอังกฤษ ซึ่งตั้งชื่อกลุ่มดาวนี้ ตามตำนานกรีก กล่าวคือ ดาวเหล่านี้ เป็นตัวแทนของหญิงสาวเจ็ดพี่น้อง แห่งไพลยาดีส ขณะที่ตำนานชาวไวกิง บอกว่า ดาวเหล่านั้น คือ แม่ไก่ทั้งเจ็ดตัวของเฟรย์ยา ชื่อของกระจุกดาว ในภาษาโบราณของทางยุโรปหลายๆ แห่งจะมีความหมายว่า แม่ไก่กับลูกไก่ ซึ่งคล้ายคลึงกับ ตำนานของไทย
นิทานดาวลูกไก่ ในตำนานไทยเล่าว่า มีตายายคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในป่า วันหนึ่งมีพระธุดงค์ผ่านมา คิดจะหาอาหารไปถวาย แต่เนื่องจากอยู่ในป่า ไม่มีอาหารดีๆ จึงหารือกันจะฆ่าไก่ ที่เลี้ยงไว้เพื่อไปทำอาหารถวาย แม่ไก่ได้ยินก็สั่งเสียลูกไก่ ทั้งหกตัวให้รักษาตัวให้ดี ตัวเองต้องแทนคุณ ตายายที่เลี้ยงดูมา เมื่อถึงเวลาตายายฆ่าแม่ไก่ ลูกไก่ก็กระโดดเข้าเตาไฟตาย ตามแม่ไปด้วย เทพยดาเห็นแก่ความกตัญญู จึงให้แม่ไก่และลูกไก่ทั้งหมด ขึ้นไปเป็นดาวอยู่บนฟ้า เพื่อเตือนใจคน
ในยุคสำริดของยุโรป ชาวยุโรป บางส่วนเช่นชาวเคลต์ หรือวัฒนธรรมอื่นก่อนหน้านั้น เชื่อว่า กระจุกดาวนี้ เกี่ยวข้องกับความอาลัย และงานศพ ในอดีตจะมีงานเทศกาล ช่วงวันระหว่าง วันศารทวิษุวัต จนถึง วันเหมายัน (ดู วันฮัลโลวีน หรือวันแห่งจิตวิญญาณ) เป็นเทศกาล เพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ กระจุกดาวนี้ จะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้า ด้านตะวันออก หลังจากตะวันลับขอบฟ้า เหตุนี้ กระจุกดาวลูกไก่ จึงมักให้ความรู้สึกถึงน้ำตา และความเศร้าโศก
การปรากฏของดวงดาว บนฟ้ามักใช้เป็นจุดสำคัญ เพื่อกำหนดระยะเวลา ตามปฏิทินของมนุษย์ในสมัยก่อน การปรากฏบนฟ้า ของกระจุกดาวลูกไก่ (ประมาณเดือนมิถุนายน) ถือเป็นการขึ้นปีใหม่ สำหรับชาวมาวรี ในนิวซีแลนด์ ซึ่งเรียกกระจุกดาวนี้ว่า มาตาริกิ (แปลว่าดวงตาดวงเล็ก ๆ) มีวันหยุดลักษณะคล้ายกันนี้ สำหรับชาวฮาวายด้วย เรียกว่าวัน Makaliʻi ชาวแอสแตคโบราณ ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง มีปฏิทินของพวกเขาที่อ้างอิง ตามกระจุกดาวลูกไก่ โดยเริ่มนับปีใหม่ เมื่อพวกนักบวชมองเห็น ดาวเรียงเด่นปรากฏขึ้น บนฟากฟ้าตะวันออก ก่อนที่แสงสุดท้าย ของดวงอาทิตย์จะลับหายไป ชาวแอสแตค เรียกกระจุกดาวนี้ว่า Tianquiztli (แปลว่า "ตลาด")
กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades M45)



|