CURRENT MOON
Fulldome Movies


มีอะไรบนท้องฟ้าบ้าง

 สำหรับชั้นอนุบาลถึงประถมปีที่ 2  (ระยะเวลา 30-45 นาที)  1  2  3    Back to Lesson Plans

วัตถุประสงค์

 

นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงสิ่งต่อไปนี้

  • ในเวลากลางคืน  เราสามารถเห็นดาวต่าง ๆ ในท้องฟ้า, และเห็นดวงจันทร์และดาวเคราะห์ (บางดวง) ด้วยเช่นกัน 
  • ดาวต่าง ๆ, ดาวเคราะห์, และดวงจันทร์ มีส่วนที่เหมือนกัน และ แตกต่างกันอย่างไร 
  • ความแตกต่างระหว่างการสะท้อนแสงและการส่องแสง (ดาวที่สะท้อนแสง และ ดาวที่มีแสงในตัวเอง)
  • คำจำกัดความของกลุ่มดาว (constellation) และ รูปร่างและเรื่องราวของกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ในขณะนี้

 

 อุปกรณ์การสอน

  1. ไฟฉายและถ่านไฟฉายสำรอง
  2. กระจกเงาอันเล็กๆ
  3. ภาพโปสเตอร์ของดวงอาทิตย์, โลก, ดวงจันทร์, ระบบสุริยะ
  4. ภาพโปสเตอร์ของกลุ่มดาวอย่างน้อย 3 กลุ่มดาว  รวมทั้งกลุ่มดาวหมีใหญ่ (กลุ่มดาวจระเข้)
  5. ตั้งเวลาของระบบเครื่องฉายดาว Digitarium™ system ให้สามารถเห็นดวงจันทร์และดาวนพเคราะห์อย่างน้อย 1 ดวง หลังจากดวงอาทิตย์ตกดิน
  6. เลเซอร์พอยเตอร์ (Light and laser pointers) 1 อัน

 

I. ช่วงการแนะนำก่อนเข้าชมท้องฟ้าจำลอง (10-15 นาที)

1.1.   บอกนักเรียนว่าวันนี้นักเรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ถามนักเรียนว่าคำว่า“ดาราศาสตร์” และ “นักดาราศาสตร์” หมายความว่าอย่างไร นักดาราศาสตร์จะต้องศึกษาวิชา หรือ ความรู้อะไรบ้าง  ถ้ามีเวลาพอ  เล่าให้นักเรียนฟังคร่าว ๆ (หรือ ย่อ ๆ) ถึงเรื่องที่นักดาราศาสตร์สนใจและกำลังศึกษาในปัจจุบัน (จะละเอียด หรือ ลึกซึ้งแค่ไหนให้คำนึงถึงความเหมาะสมหรืออายุของนักเรียนด้วย)

 

1.2.   สิ่งหนึ่งที่เราจะเรียนรู้ในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับดาว (แสดงภาพโปสเตอร์ของดวงอาทิตย์)  ทำไมเราจึงสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์  ทำไมเราไม่สามารถเห็นดาวอื่นๆ  ในเวลากลางวัน  ทำไมดวงอาทิตย์มีความสำคัญต่อเรา  ดวงอาทิตย์เกิดจากอะไร

 

1.3.   ดาวบางดวงในท้องฟ้าตอนกลางคืนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทำให้เกิดภาพ  เราเรียนรู้ภาพเหล่านั้นที่เรียกว่า “กลุ่มดาว” มากขึ้นเมื่อเราเข้าไปด้านในของท้องฟ้าจำลอง โชว์ภาพ“กลุ่มดาว” 3-5 ภาพจากโปสเตอร์ที่เตรียมมา

 

1.4.   เราสามารถเห็นอะไรอีกบนท้องฟ้า ถูกแล้ว, ดวงจันทร์ (แสดงภาพโปสเตอร์ของดวงจันทร์)  ดวงจันทร์ทำอะไร (หมุนรอบโลก) ดวงจันทร์ทำมาจากอะไร  ดวงจันทร์ส่อแสงด้วยตัวเองหรือไม่ ดวงจันทร์ไม่ได้ส่องแสงด้วยตัวเอง แต่ทำไมเราจึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้  วัตถุบางชนิดในท้องฟ้ามีแสงด้วยตัวเอง เช่น ดาว และวัตถุบางชนิดไม่มีแสงในตัวเอง แต่จะสะท้อนแสง เช่น ดวงจันทร์  การสะท้อนแสงหมายความว่าอะไร  เมื่อเราคิดถึงการสะท้อนแสง โดยปกติเราจะคิดถึงกระจก กระจกสะท้อนแสงได้ (ใช้ไฟฉายฉายไปที่กระจก หันกระจกให้แสงสะท้อนไปที่เพดานห้องหรือกำแพงที่อยู่ใกล้ ๆ) นักเรียนสามารถเห็นแสงที่ตกกระทบไปบนเพดานหรือกำแพง  เช่นเดียวกัน เราสามารถเห็นดวงจันทร์ เพราะว่ามันสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์กลับมายังโลก ดวงจันทร์เป็นเหมือนกระจกเงา สะท้อนแสงมายังโลก ดวงอาทิตย์เป็นเหมือนกับไฟฉายที่ทำให้เกิดแสง

 

1.5.   มีอะไรที่เป็นสิ่งอื่นอีกบนท้องฟ้าบ้าง ถูกแล้ว   มีอีกหลายๆ สิ่ง รวมทั้งดาวเคราะห์(แสดงภาพโปสเตอร์ของระบบสุริยะ)  ดาวเคราะห์เป็นวัตถุที่มีแสงสว่างในตัวเองคล้ายดวงอาทิตย์ หรือเป็นวัตถุที่สะท้อนคล้ายดวงจันทร์กันแน่?  คำตอบคือ ดาวเคราะห์เป็นดาวสะท้อนแสง  ดาวเคราะห์เกิดขึ้นจากอะไร ดาวเคราะห์  บางดวงประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่ เช่น ดาวอังคารและโลก บางดวงประกอบด้วยก็าซ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ อย่างไรก็ตาม ดาวเคราะห์ทุกดวง จะไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่นเดียวกับดวงจันทร์  แต่จะสะท้อนแสดงจากดวงอาทิตย์  ทำให้เราสามารถมองเห็นดาวเหล่านั้นได้

 

1.6.   ความรู้เพิ่มเติม:  
ถ้านักเรียนสนใจจะศึกษาเพิ่มเติม  ให้นักเรียนทราบถึงคำจำกัดความของคำว่า “ดาวเคราะห์” จากการประชุมดาราศาสตร์นานาชาติ เดือน สิงหาคม 2549 (the August 2006 International Astronomical Union) ดังนี้   ดาวเคราะห์ คือ วัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์  เป็นวัตถุที่ใหญ่พอที่จะมีแรงดึงดูดด้วยตัวเองและดึงดูดสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ๆ จนตัวเองมีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม  และ เคลียร์วัตถุต่าง ๆ ออกจากวงโคจรของตน 
(A planet is an object that is in orbit around the sun, is large enough for its own gravity to pull it into a nearly spherical shape, and has cleared the neighborhood around its orbit).

 

1.7.   การเตรียมตัวเข้าสู่การเข้าชมในท้องฟ้าจำลอง—กฎ, วิธีการเข้าชม, การห้ามส่งเสียง เป็นต้น

 

 

II.       ท้องฟ้าคืนนี้ (15-30 นาที)

 

หมายเหตุ  ให้ตั้งระบบเครื่องฉายดาว Digitarium ในวันและเวลาที่สามารถเห็นดวงจันทร์และดาวเคราะห์อย่างน้อยที่สุด 1 ดวง หลังดวงอาทิตย์ตก

 

2.1  (เมื่อนักเรียนแต่ละคนเข้านั่งประจำที่แล้ว ให้เร่งเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น  จากนั้นก็ปิด atmospheric effects and landscape)  บอกนักเรียนว่าท้องฟ้าขณะนี้ เป็นเวลา .......นาฬิกาของ  วันที่....................     นักเรียนเห็นอะไรบ้าง ดวงอาทิตย์อยู่ที่ไหน  ดวงจันทร์อยู่ที่ไหน  ให้นักเรียนช่วยกันบรรยายถึงรูปร่างของดวงจันทร์ขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร  เขาสังเกตว่าดวงจันทร์ไม่ได้มีรูปร่างเหมือนกันทุกวัน (ถ้าทำได้ ให้บรรยายย่อ ๆ ถึงการเปลี่ยนรูปร่างของดวงจันทร์ว่า เกิดจากการปรับเปลี่ยนตำแหน่งตลอดเวลาของโลก ดวงจันทร์, และดวงอาทิตย์)   

 

2.2  นักเรียนเห็นดาวดวงไหนที่คิดว่าเป็นดาวเคราะห์บ้าง เราจะบอกได้อย่างไรว่า เรากำลังมองดูดาว(ฤกษ์) หรือ ดาวเคราะห์   บอกนักเรียนว่าดาวเคราะห์มีสีแตกต่างเล็กน้อยจากดาวฤกษ์ในท้องฟ้าและปรากฏอยู่ใกล้กับเส้นที่เรียกว่า ecliptic line (กดปุ่มแสดงเส้น ecliptic line) ให้เวลานักเรียนซัก พักให้มองหาดาวเคราะห์ จากนั้นเปิดชื่อที่กำกับดาวเคราะห์แต่ละดวง  เลือกและขยายดาวเคราะห์แต่ละดวงที่ปรากฏในท้องฟ้า   บรรยายถึงข้อเท็จจริงที่น่าสนใจของดาวเคราะห์แต่ละดวงในขณะที่เลือกและขยายดาวดวงนั้น ๆ

 

2.3  จากโปสเตอร์ของระบบสุริยะ  อธิบายถึงดาวเคราะห์แต่ละดวงเรียงลำดับจากดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จนจบ  

 

2.4  สิ่งที่เราเห็นมากที่สุดในท้องฟ้าคืออะไร  ใช่แล้ว  ดาว(ฤกษ์)  กว่าหนึ่งพันปีมาแล้วชาวกรีกและโรมัน เชื่อมโยง “จุดกลมๆ เล็กๆ” ต่าง ๆ บนท้องฟ้าและสร้าง (จินตนาการ) ภาพขึ้นในท้องฟ้า  ภาพเหล่านั้นเรียกว่า “กลุ่มดาว” (Constellations)  ทุกวันนี้เรายังคงใช้หลาย ๆ ชื่อที่เขาตั้งให้กับกลุ่มดาว นี่คือภาพในท้องฟ้า (แสดงโครงร่างของดาว “หมีใหญ่” )

 

2.5  มีใครที่จำกลุ่มดาวนี้ได้บ้าง  เปิดภาพกลุ่มดาว “หมีใหญ่”  ชาวโรมันโบราณจินตนาการภาพเป็นสัตว์ที่มีฟันแหลมคมและกรงเล็บ ชอบกินปลาและผลเบอรี่  (กดรีโมทให้เห็นโครงร่างขอบเขตของ กลุ่มดาวหมีใหญ่  อธิบายว่าส่วนไหนของดาวเป็นตรงส่วนไหนของหมี  จากนั้นกดปุ่มรีโมทให้เห็น ลายเส้นของกลุ่มดาวหมีใหญ่ และ ภาพร่าง ของกลุ่มดาวหมีใหญ่) เล่าเรื่องที่คุณชอบที่สุดเกี่ยวกับดาวหมีใหญ่ให้นักเรียนฟัง  ขณะเดียวกัน  คุณครูก็สามารถบอกนักเรียนว่า  กลุ่มดาวหมีใหญ่ของชาวกรีกและโรมัน เป็น กลุ่มดาวเดียวกับกลุ่มดาวจระเข้ของไทย  แต่มีการจัดกลุ่มแตกต่างกัน

 

2.6  คราวนี้ เลือก “กลุ่มดาว” อีกอย่างน้อย 2 กลุ่มที่อยู่คนละตำแหน่งในท้องฟ้า และเล่าเรื่องราวของกลุ่มดาวนั้น ๆ ให้นักเรียนฟัง

 

2.7  บรรยายถึงความสำคัญของดาวเหนือ จะค้นหามันได้อย่างไรบนท้องฟ้า  และจากนั้นเร่งเวลา ให้เน้นย้ำว่าในชีวิตจริง  ดาวไม่ได้หมุนรอบโลก  การหมุนและโคจรของโลกทำให้เรามองเห็นดาวว่าไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิม ตลอดคืนและตลอดปี

 

2.8  ความรู้เพิ่มเติม กดปุ่มคำสั่งในรีโมทให้แสดงชื่อของดาวเคราะห์และให้เห็นเส้นโคจรของดาวเคราะห์ด้วย  ในช่วงนี้ ให้มีดาวพุธอยู่บนท้องฟ้าด้วย แต่ถ้าไม่มี ก็ให้เร่งเวลาจนกระทั่งสามารถเห็นดาวพุธ  จากนั้นเลื่อนเวลาไปข้างหน้าครั้งละ 1 สัปดาห์เพื่อให้นักเรียนเห็นการเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์ซึ่งแตกต่างจากการเคลื่อนไหวของดาว(ฤกษ์) ในเวลาเดียวกัน  เลื่อนเวลาไปข้างหน้าเรื่อย ๆ จนกระทั่งเส้นโคจรของดาวพุธปรากฏเป็นเส้นโค้งในท้องฟ้า

 

2.9  บรรยายโดยย้ำว่าดาวพุธและดาวเคราะห์อื่นๆ  รวมทั้งโลก เพียงหมุนรอบตัวเอง และ โคจรรอบดวงอาทิตย์  อย่างไรก็ตาม  การหมุนดังกล่าว ก่อให้เกิดเรื่องแปลก ๆ บนท้องฟ้า เช่น ดาวเคราะห์ต่าง ๆ ไม่ได้หมุนเหมือนกันดาวฤกษ์ บรรยายย่อ ๆ ว่า โลกใช้เวลาเท่าไรในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่น อีกซัก 2-3 ดวง ว่าใช้เวลาเท่าไรในการหมุนรอบดวงอาทิตย์

 

III         นักเรียนทั้งหมดเตรียมตัวออกจากท้องฟ้าจำลอง

 

IV         การสรุป

 

ความรู้เพิ่มเติม,  หลังจากทุกคนออกจากท้องฟ้าจำลองและนั่งเรียบร้อยแล้ว ถ้ายังพอมีเวลา  ใช้อาสาสมัคร 2 คนออกมาแสดงเป็นโลกและดวงอาทิตย์  ดูรายละเอียดข้อ 1.3 ในหลักสูตร “การหมุนของโลก” ประกอบว่า นักเรียนทั้งสองจะต้องทำอย่างไร

 

ทบทวนว่าวันนี้นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง? ดาว(ฤกษ์) ประกอบขึ้นจากอะไร? ดวงจันทร์เกิดจากอะไร? ดาวเคราะห์เกิดจากอะไร? ทำไมเราจึงสามารถมองเห็นดาว  ดวงจันทร์  ดาวเคราะห์?   คำว่า “กลุ่มดาว” หมายความว่าอะไร?

---------------------------------------------------






ท้องฟ้าจำลอง เครื่องฉายดาว เครื่องทำท้องฟ้าจำลอง โดมท้องฟ้าจำลอง โดมเคลื่อนที่ ภาพยนตร์ฟูลโดม ดิจิทาเรียม แอนทาเรส ภาพยนตร์สำหรับท้องฟ้าจำลอง
Planetarium system inflatable dome full-dome movie fulldome productions digitarium Antares Digitarium Zeta Digitarium Gamma Digitarium Epsilon Digitarium Kappa Digitarium AEthos Digitarium Iota Digitarium Delta natural geographic mirage 3D Albedo
 Copyright ©   WWW.IN-BUDGET.NET 2550 - 2567   E-mail : info@in-budget.com Tel : 02 740 2746-7 Mobile : 086 565 8072