CURRENT MOON
Fulldome Movies


การหมุนของโลก

 สำหรับชั้นอนุบาลถึงประถมปีที่ 2  (ระยะเวลา 30-45 นาที)  1  2    Back to Lesson Plans

วัตถุประสงค์

 

นักเรียน จะได้เรียนรู้ถึงสิ่งต่อไปนี้

  • โลกหมุนรอบตัวเองตามแกนที่สมมติขึ้น  โดยหมุนหนึ่งรอบจะเท่ากับ หนึ่ง วัน
  • โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ โดยหมุนรอบดวงอาทิตย์ หนึ่ง รอบ จะเท่ากับ หนึ่ง ปี
  • การที่โลกหมุนรอบตัวเอง และ หมุนรอบดวงอาทิตย์ มีผลต่อภาพ ดวงดาว ที่เห็นในท้องฟ้า
  • รู้จักคำว่า “กลุ่มดาว” (constellation)
  • ทำความรู้จัก รูปร่าง และ เรื่องราว ของ กลุ่มดาว ที่สามารถมองเห็นได้
  • เหตุผล ที่ทำไมคนเราถึงได้สร้าง “กลุ่มดาว” ขึ้นมา

 

อุปกรณ์ประกอบการสอน

  • ไฟฉาย  และ ถ่ายไฟฉายสำรอง
  • ลูกโลกจำลอง ที่เสียบกับไม้ (ลูกโลกที่มีก้านโผล่ออกจากขั้วโลกเหนือ และ ขั้วโลกใต้ เพื่อ ให้เห็นถึง แกนสมมติของโลก
  • เข็มหมุด ที่ปลายเข็มมีธงเล็ก ๆ ติดอยู่ และเขียนชื่อจังหวัด ลงบนธงเล็ก ๆ นั้น (เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายปักบน ลูกโลก แสดงถึง “ที่อยู่” ปัจจุบันของนักเรียน บนโลก)
  • รูปพระอาทิตย์ ขนาดเท่า โปสเตอร์
  • รูปโปสเตอร์ของ “กลุ่มดาว” ต่าง ๆ รวมทั้ง กลุ่มดาว “หมีใหญ่”
  • “ท้องฟ้าจำลอง” ที่กำหนด วันที่ และ เวลา เป็น ปัจจุบัน

 

1.      ช่วงการแนะนำก่อนเข้าชมท้องฟ้าจำลอง (10-15 นาที)

 

1.1   บอกกับนักเรียนว่า วันนี้เราจะเรียนเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์กัน  ให้เรียนรู้ว่า “ดาราศาสตร์” คืออะไร  และ “นักดาราศาสตร์” คือใคร และทำอะไร  พูดคุยให้ฟังว่า นักดาราศาสตร์ ต้อง เรียนรู้อะไรบ้าง  ถ้ามีเวลา ก็ให้เล่าเรื่อง ผลการวิจัยด้านดาราศาสตร์ในปัจจุบัน ให้ฟัง (ต้องคำนึงถึงอายุผู้ฟังด้วย  อย่าให้ “หนัก” เกินไป)

 

1.2   บอกให้นักเรียนทราบว่า  วันนี้ เราจะมาเรียนเรื่อง “ดวงดาว” กัน  พูดคุยให้ฟังว่า ดาว คืออะไร (โชว์โปสเตอร์ของ ดวงอาทิตย์) ถามนักเรียนว่า “รูปในโปสเตอร์นี้ คือ ดาวอะไร” และถามต่อว่า “ทำไมดวงอาทิตย์ ถึงได้มีความสำคัญต่อพวกเรามาก” (ดวงอาทิตย์ ให้แสงสว่าง และความอบอุ่นแก่มวลมนุษย์ และ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ  มีแรงโน้มถ่วง ซึ่งทำให้โลกเรา ไม่หลุด ออกจากวงโคจร ฯลฯ)

 

1.3   เลือก อาสาสมัคร ขึ้นมา 2 คน เป็นตัวแทนของ โลก และ ดวงอาทิตย์ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของวัตถุทั้งสอง โดยให้คนหนึ่ง เป็น โลก และ คนที่สอง เป็น ดวงอาทิตย์

  

·        นำเข็มหมุดพร้อมธงเล็ก ๆ ปักลงบนลูกโลกจำลอง ณ ตำแหน่งที่เหมาะสม ตามจังหวัดที่นักเรียนอาศัยอยู่   จากนั้นก็มอบให้นักเรียน อาสาสมัครที่เป็น “โลก”  ส่วน อาสาสมัครที่เป็น “ดวงอาทิตย์” จะถือแผ่นโปสเตอร์ ดวงอาทิตย์

 

·        บรรยายว่า โลกหมุนอย่างไร  สาธิตให้นักเรียน เข้าใจว่า  โลกหมุนรอบตัวเองตามแกนสมมติ (อย่างไร) และ ขณะเดียวกัน ก็หมุนรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย (อย่างไร)  การหมุนดังกล่าวทั้งสองกรณี ต้องระวังว่า เป็นการหมุน “ทวน” เข็มนาฬิกา  ให้ อาสาสมัครที่เป็น “โลก”  ลองซ้อมการหมุนรอบตัวเองคนเดียวก่อน  และจึงมาลองหมุนด้วยกัน กับ ดวงอาทิตย์ [หมายเหตุ ถ้าท่านสอนนักเรียนที่โตขึ้น อาจแนะนำเรื่องแกนสมมติของโลกที่เอียงเป็นการเพิ่มเติม ก็ได้]

 

·        ให้อาสาสมัครที่เป็น “โลก”  หมุนรอบตัวเองช้า ๆ ขณะที่หมุนรอบอาสาสมัครที่เป็น “ดวงอาทิตย์” อย่าให้หมุนนานเกินไป เพราะอาจทำให้ อาสาสมัครที่เป็น “โลก”  เวียนหัวได้  ต้องให้หยุดพักเป็นระยะ ๆ

 

·        ชี้ให้นักเรียนเห็นว่า  บางครั้ง จุดที่ตั้งที่เป็น “บ้าน” ของนักเรียน บางครั้งก็หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ [หยุด อาสาสมัครที่เป็น “โลก” อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เมื่อ “ธงเล็ก ๆ” หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ถามนักเรียนนว่า “เมื่อจุดที่เป็น “บ้าน” หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ขณะนั้นเป็นเวลากลางวัน หรือ กลางคืน?” “แล้วถ้าหากหันหลังให้กับดวงอาทิตย์ละ เป็นเวลากลางวัน หรือ กลางคืน?” [ควรหยุดอาสาสมัครที่เป็น “โลก” อย่างน้อยหนึ่งครั้งเมื่อ“ธงเล็ก ๆ” หันหลังให้กับดวงอาทิตย์]

 

·        อีกวิธีหนึ่งที่คุณครูสามารถทำได้ก็คือ ให้นักเรียนทั้งชั้นยืนเป็นวงกลมรอบ ๆ อาสาสมัครที่เป็น “ดวงอาทิตย์” แล้วให้นักเรียนแต่ละคน“หมุนรอบตัวเอง” และทั้งกลุ่มก็เคลื่อนช้า ๆ รอบ ๆ ดวงอาทิตย์  บอกนักเรียนให้สมมติว่า ที่ตั้งของบ้าน หรือ โรงเรียน อยู่ตรงปลายจมูกของนักเรียน  ให้นักเรียนหยุดหมุนเป็นพัก ๆ เพื่อสอน และ สอบถามเรื่องที่เรียนรู้ เพื่อไม่ให้ เวียนหัวมากเกินไป  อย่าลืมถามความเห็นของอาสาสมัครที่เป็น “ดวงอาทิตย์” ว่าสังเกตุเห็นอะไรบ้างจากที่ยืนอยู่จุดศูนย์กลาง

 

·        ให้อาสาสมัครทั้งหมด กลับมานั่งที่

 

1.4  ถามนักเรียนว่า ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวดวงเดียวที่เราสามารถมองเห็นได้ ใช่หรือไม่?   เราจะเห็นดาวดวงอื่น ๆ ได้เมื่อไร? แล้วทำไมเราถึงมองไม่เห็นดาวดวงอื่น ๆ ในตอนกลางวันละ?

 

1.5              ให้คำจำกัดความของคำว่า “กลุ่มดาว” (Constellation) แสดงรูปภาพของ กลุ่มดาว ซึ่งนักเรียนสามารถจะเห็นได้ในท้องฟ้าจำลอง

1.6  การเตรียมตัวเข้าสู่การเข้าชมในท้องฟ้าจำลอง—กฎ, วิธีการเข้าชม, การห้ามส่งเสียง เป็นต้น

 

 

2        การแนะนำ ท้องฟ้าในคืนนี้ และ กลุ่มดาวของคืนนี้ (15 ถึง 25 นาที)

 

2.1       [เมื่อนักเรียนแต่ละคนเข้านั่งประจำที่แล้ว  ให้ “เร่งเวลา” จากนั้นก็ “ปิด” atmospheric effects and landscape.]  บอกให้นักเรียนทราบว่า  ขณะนี้ พวกเขากำลังชม ท้องฟ้าของคืนนี้  ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ____ นาฬิกา  ถามนักเรียนว่า พวกเขาเห็นอะไรบ้าง?  เห็นดวงอาทิตย์หรือไม่?  แล้วดวงอาทิตย์หายไปไหน

 

2.2       ให้นักเรียนดู กลุ่มดาว “Big Dipper” (กลุ่มดาวจระเข้) บอกกับนักเรียนว่า  ทำไมกลุ่มดาวนี้ถึงได้สำคัญนัก?  ชี้ให้เห็นว่า มีดาวอื่น ๆ ดวงไหนบ้าง ที่ประกอบกันขึ้นเป็น “กลุ่มดาวหมีใหญ่” (Ursa Major) เปิด “เส้นร่าง” และ “ภาพวาด”ของกลุ่มดาวหมีใหญ่  จากนั้นก็เล่านิทานเรื่องที่เกี่ยวกับดาวหมีใหญ่ให้นักเรียนฟัง

 

2.3        ชี้ให้เห็น “กลุ่มดาว” กลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในส่วนอื่น ๆ ของท้องฟ้า  จากนั้นเปิด “เส้นร่าง” และ “ภาพวาด” ของกลุ่มดาวเหล่านั้น พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวและนิทาน ต่าง ๆ ประกอบ ภาพวาดเหล่านั้นให้นักเรียนฟัง

 

2.4       ลองถามนักเรียนว่า ถ้าเราขยับเวลาให้เร็วขึ้นอีกสัก ชั่วโมงแล้ว ท้องฟ้าจะเป็นอย่างไร  โลกของเราจะหมุนไหม ใน ชั่วโมงนั้น หมุนอย่างไร กลุ่มดาวต่าง ๆ ที่มองเห็นในขณะนี้ จะยังอยู่ที่เดิมหรือไม่ ลองช่วยกัน คาดการณ์ดูสัก 2 – 3 ความเห็น  จากนั้นก็ ปรับ“Remote” ให้เวลาไปข้างหน้า ชั่วโมง  บอกกับนักเรียนว่า  มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และ ทำไมถึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น  อย่าลืมเน้นว่า  สาเหตุที่โลกหมุน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในท้องฟ้า

 

2.5       บอกนักเรียนว่า ทำไมคนในสมัยโบราณสร้างภาพ และ เรื่องราวในท้องฟ้า เช่น หมีใหญ่  รวมทั้ง กลุ่มดาวต่าง ๆ เหล่านั่น เป็นเหมือนกับนาฬิกาบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน  หรือ ช่วยคนโบราณรู้ว่า เมื่อไรจะถึงเวลา เพาะปลูก และ เมื่อไรจะถึงเวลาเก็บเกี่ยว เป็นต้น

 

2.6       กรณีที่มีเวลาเหลือ   ให้นักเรียนลองคิดเล่น ๆ ดูว่า ท้องฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลง ถ้าเลื่อนเวลาไปข้างหน้า สัปดาห์ เดือน และ เดือน  จากนั้นก็ให้ลองเลื่อนไปแต่ละช่วงเวลาดังกล่าว  อย่าลืมเน้นให้นักเรียนทราบว่า  ปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกิดจากการหมุนของโลก ทำให้การมองเห็นผิดแปลกออกไป ดาวต่าง ๆ “ไม่ได้” หมุนรอบโลก

 

2.7       กรณีที่มีเวลาเหลือ  เปลี่ยนเครื่องฉายมาเป็น กลางวัน  (แต่ atmospheric effect ยังคงปิดอยู่) ดังนั้น นักเรียนก็สามารถมองเห็น ดวงอาทิตย์ อยู่คู่กับดาวดวงอื่น ๆ  บอกกับนักเรียนว่า  ถ้าเราเลื่อนเวลาเร็วขึ้น ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  และลองเลื่อนให้ดู  ลองเปลี่ยนไปทีละสัปดาห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ

 

2.8       บอกถึงความสำคัญของดาวเหนือ  วิธีหาดาวเหนือให้ทำอย่างไร จากนั้นก็เร่งความเร็วให้เร็วขึ้นเพื่อให้เห็นความพิเศษว่า ดาวเหนือยังอยู่กับที่ขณะที่ดาวส่วนอื่นๆ เคลื่อนที่ไปอย่างไร  [อย่าลืมเน้นให้เห็นว่า  การเปลี่ยนแปลง และการหมุนเวียนในท้องฟ้า เกิดจากการหมุนของโลกที่ทำให้เปลี่ยนแปลงมุมมองของเรา  ดาวต่าง ๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวโดยหมุนรอบโลก]

 

2.9       ออกจากท้องฟ้าจำลอง และรวมกลุ่มที่หน้าห้องของท้องฟ้าจำลอง

 

3         สรุป (นาที)

 

  • เมื่อนักเรียนทุกคนออกมาและนั่งเรียบร้อยแล้ว  ทบทวนว่า วันนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง? โลกหมุนอย่างไร? การหมุนของโลกทำให้มุมมองของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่าไร? โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ใช้เวลาเท่าไร?

 ------------------------------------ จบ --------------------------------------

 





ท้องฟ้าจำลอง เครื่องฉายดาว เครื่องทำท้องฟ้าจำลอง โดมท้องฟ้าจำลอง โดมเคลื่อนที่ ภาพยนตร์ฟูลโดม ดิจิทาเรียม แอนทาเรส ภาพยนตร์สำหรับท้องฟ้าจำลอง
Planetarium system inflatable dome full-dome movie fulldome productions digitarium Antares Digitarium Zeta Digitarium Gamma Digitarium Epsilon Digitarium Kappa Digitarium AEthos Digitarium Iota Digitarium Delta natural geographic mirage 3D Albedo
 Copyright ©   WWW.IN-BUDGET.NET 2550 - 2567   E-mail : info@in-budget.com Tel : 02 740 2746-7 Mobile : 086 565 8072