CURRENT MOON
Fulldome Movies


นิทานบนท้องฟ้า

 สำหรับชั้นอนุบาลถึงประถมปีที่ 2  (ระยะเวลา 30-45 นาที)   2  3    Back to Lesson Plans

วัตถุประสงค์

 

นักเรียน จะได้เรียนรู้ถึงสิ่งต่อไปนี้

  • กลุ่มดาวคืออะไร
  • กลุ่มดาวที่ชาวกรีกและชาวโรมันสร้างสรรค์ขึ้นมา ว่ามีรูปร่างอย่างไร รวมทั้งนิทานต่าง ๆ ที่เล่าประกอบ
  • ทำไมกลุ่มดาวต่าง ๆ จึงมีความสำคัญในอดีต และ ยังคงมีความสำคัญในหลาย ๆ ประเทศ
  • ทำไมเราไม่สามารถเห็นดาวทั้งหมดในเวลาเดียวกัน

 

อุปกรณ์ประกอบการสอน

 

  • ไฟฉาย  และ ถ่ายไฟฉายสำรอง
  • ลูกโลกจำลอง ที่เสียบกับไม้ (ลูกโลกที่มีก้านโผล่ออกจากขั้วโลกเหนือ และ ขั้วโลกใต้ เพื่อ ให้เห็นถึง แกนสมมติของโลก
  • รูปโปสเตอร์พระอาทิตย์ หรือ ดาวดวงอื่น
  • รูปโปสเตอร์ของ “กลุ่มดาว” ต่าง ๆ รวมทั้ง กลุ่มดาว “หมีใหญ่”
  • Light and laser pointers
  • “ท้องฟ้าจำลอง” ที่กำหนด วันที่ และ เวลา เป็น ปัจจุบัน

 

1.      ช่วงการแนะนำก่อนเข้าชมท้องฟ้าจำลอง (10 นาที)

 

1.1   บอกกับนักเรียนว่า วันนี้พวกเขาจะเรียนเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ ถามนักเรียนว่า ดาราศาสตร์ หรือ นักดาราศาสตร์ คืออะไร พร้อมทั้งตอบให้ทราบ  สอนนักเรียนว่า มีเนื้อหาอะไรบ้างที่นักดาราศาสตร์ศึกษาและสนใจ ถ้ามีเวลา ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ นักดาราศาสตร์กำลังศึกษาวิจัยเรื่องอะไรกันอยู่ [เนื้อหาควรให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก]

 

1.2   วันนี้เราจะเรียนเรื่องดาว [แสดงภาพดวงอาทิตย์ หรือ ดาวดวงอื่นก็ได้ทำไมเราถึงได้มองเห็นดาว? ดาวคืออะไร? ประกอบด้วยอะไร? ดาวที่อยู่ใกล้โลกที่สุดคือดาวอะไร? ทำไมดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญต่อโลกมาก?

 

1.3   ดาวบางดวงถูกจับกลุ่มรวมเข้าด้วยกัน และสร้างรูปภาพขึ้นประกอบ เรียกว่า กลุ่มดาว (Constellation)  แสดงภาพของ รูปกลุ่มดาว ที่นักเรียนจะได้เห็นในท้องฟ้าจำลอง บอกกับนักเรียนว่า รูปต่าง ๆ เหล่านั้น คนกรีกโบราณ และ คนโรมัน เป็นคนคิดสร้างขึ้น และ นักเรียนจะได้ฟังนิทานเรื่องราวประกอบรูปเหล่านั้น ในเมื่อเข้าไปชมท้องฟ้าจำลองข้างใน  รวมทั้งเหตุผลที่ทำไมคนเราถึงได้สร้างรูปต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นมา?[เหตุผลต่าง ๆ เช่น เพื่อการเดินเรือ การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การดูเวลา เป็นต้น  บอกนักเรียนว่า  ไม่แต่เฉพาะคนกรีก และ คนโรมันที่สร้างภาพ และ เรื่องราวบนท้องฟ้า  ทุก ๆ เชื้อชาติต่างมีการสร้างนิทาน และ ภาพจินตนาการขึ้นกับท้องฟ้าทั้งนั้น รวมทั้งของไทยเราด้วย  แต่เรื่องราวของคนกรีก และ โรมัน เป็นเรื่องเด่นและศึกษากันทั่วโลก

 

1.4   การเตรียมตัวเข้าสู่การเข้าชมในท้องฟ้าจำลอง—กฎ, วิธีการเข้าชม, การห้ามส่งเสียง เป็นต้น

 

2.      ท้องฟ้าคืนนี้ (15 – 30 นาที) 

 

2.1  [เมื่อนักเรียนทั้งหมดเข้ามานั่งประจำที่ในท้องฟ้าจำลองแล้ว เร่งเวลาในท้องฟ้าให้ดวงอาทิตย์ตกดิน จากนั้น ก็ปิด atmospheric effects and landscape.]   จากนั้นก็บอกนักเรียนว่า  ขณะนี้ พวกเขากำลังดูท้องฟ้าของค่ำคืนนี้ ณ เวลา____นาฬิกา  ถามต่อว่า พวกเขาเห็นอะไรบ้าง?  ดวงอาทิตย์อยู่ที่ไหน? นักเรียนเห็นอะไรอย่างอื่นที่จำได้บ้าง?  ทำไมเราถึงมองไม่เห็นดาวดวงอื่น ๆ ในตอนกลางวัน

 

2.2  บอกนักเรียนว่า  นักเรียนกำลังจะเห็นกลุ่มดาวที่พวกเขาน่าจะคุ้นเคย  กลุ่มดาวนี้จะมีลักษณะคล้ายช้อนขนาดยักษ์อยู่บนท้องฟ้า  แล้วพวกเราเรียนมันว่าอะไรละ?  ใช่แล้ว  เรียกว่า “the Big Dipper” กลุ่มดาวกระบวยใหญ่ (ชี้ให้นักเรียนเห็นกลุ่มดาว Big Dipper)

 

2.3  บอกกับนักเรียนว่า  จากกลุ่มดาวดังกล่าว  ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นกลุ่มดาวที่ชาวโรมันสร้างขึ้นมาละก็  ต้องเพิ่มดาวเข้าไปอีกหลาย ๆ ดวง  ชาวโรมัน จินตนาการถึงสัตว์ที่มีฟันและเขี้ยวอันแหลมคม ซึ่งชอบกัดกินปลาและผลไม้เป็นอาหาร (เปิดส่วนที่เป็น “ขอบเขตแดน” ของกลุ่มดาวหมีใหญ่)  จากนั้นก็บรรยายว่า  ดาวดวงไหนเป็นส่วนไหนของตัวหมีใหญ่  จากนั้นก็เปิด “เส้นวาด” และ “รูปภาพ” ของกลุ่มดาวหมีใหญ่  จากนั้นก็เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหมีใหญ่ของชาวกรีก หรือ โรมันที่ท่านชื่นชอบ

 

2.4  บอกกับนักเรียนว่า  แต่หมีใหญ่ไม่ใช่เป็นหมีตัวเดียวที่อยู่บนท้องฟ้า  ยังมีกลุ่มดาวหมีเล็กด้วย  ใครรู้บ้างว่า กลุ่มดาวอะไรประกอบขึ้นเป็นดาวหมีเล็ก?  ใช่แล้ว กลุ่มดาว “กระบวยเล็ก” หรือ กลุ่มดาวหมีเล็ก  เราสามารถใช้ดาว ดวงของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ช่วยเราหาดาวดวงที่สำคัญมาก ๆ บนท้องฟ้า—ดาวเหนือ (Polaris) ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดของหางกลุ่มดาวหมีเล็ก  (แสดงให้นักเรียนดูว่า เราใช้ดาว ดวงของ “กระบวยใหญ่” ค้นหา “ดาวเหนือ” ได้อย่างไร) จากนั้นก็สอนนักเรียนถึงวิธีการหาส่วนที่เหลือของกลุ่มดาวหมีเล็ก (เปิด “ขอบเขตแดน” ของกลุ่มดาวหมีเล็ก  จากนั้นก็บรรยายว่า ดาวอะไรประกอบเป็นหมีเล็กบ้าง จากนั้นก็เปิด “เส้นวาด” และ “รูปภาพ” ของกลุ่มดาวหมีเล็ก  ถ้าท่านทราบเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มดาวหมีเล็ก  ก็น่าจะเล่าให้นักเรียนฟัง)

 

2.5  จากนั้นก็แสดงกลุ่มดาวให้นักเรียนดูอีก ถึง กลุ่ม (แล้วแต่เวลา) จากท้องฟ้าส่วนอื่น ๆ  เล่านิทาน หรือ ตำนานของกลุ่มดาวนั้น ๆ และเปิด “เส้นวาด” และ “รูปภาพ” ของกลุ่มดาวเหล่านั้นให้นักเรียนชมด้วย

 

2.6    หลังจากที่ได้ฟังเรื่องราว และตำนานต่าง ๆ ของดาวกลุ่มอื่น ๆ แล้ว วกกลับมาที่กลุ่มดาวแรก คือ กลุ่มดาว “กระบวยใหญ่” เล่าให้นักเรียนฟังว่า ทำไมกลุ่มดาว กระบวยใหญ่จึงได้สำคัญมากต่อเรา  (กลุ่มดาวนี้อยู่ทางซีกเหนือของท้องฟ้า หาง่าย สามารถเห็นได้ตลอดทั้งปี สำคัญสำหรับการเดินทางในยามค่ำคืน) สามารถเห็นได้ตลอดทั้งคืน  และยิ่งกว่านั้น ทำให้สามารถค้นหาดาวเหนือ (Polalis) ได้ (เร่งเวลา เพื่อให้เห็นว่า ดาวเหนือไม่เคลื่อนที่ และแนะให้นักเรียนทราบว่า การหมุนของโลก และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ทำให้เราเห็นว่า ดาวต่าง ๆ เคลื่อนที่)

 

2.7    จะเห็นว่า ดาวเหนือไม่ค่อยจะเคลื่อนที่มากนัก  เพราะว่า อยู่เกือบจะเป็นตำแหน่งเดียวกับขั้วโลกเหนือ (ใช้ลูกโลกจำลองในมือ โดยเอียงแกนของโลกและชี้ปลายไม้ไปที่ดาวเหนือ)

 

2.8    แล้วกลุ่มดาวอื่น ๆ เคลื่อนที่หรือเปล่า (ให้นักเรียน เห็นการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวอื่น ๆ) พร้อมทั้งอธิบายว่า ทำไมกลุ่มดาวอื่น ๆ ถึงได้เคลื่อนที่ โดยใช้ลูกโลกจำลอง และ อธิบายถึงการหมุนรอบตัวเอง และ หมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลกที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นี้)

 

2.9    จากนั้น ก็เปิดให้เห็น “เส้นวาด” และ “รูปภาพ” ของกลุ่มดาวต่าง ๆ

 

3.      เตรียมให้นักเรียนออกจากท้องฟ้าจำลอง เพื่อรวมกลุ่มกันใหม่นอกห้องเรียน

 

4.      สรุป

 

เมื่ออยู่นอกห้องเรียนและนั่งเรียบร้อยแล้ว

·        ทบทวนว่าวันนี้ นักเรียนได้เรียนอะไรบ้าง

·        กลุ่มดาว แปลว่าอะไร มีความหมายอย่างไร

·        ผู้คนต่าง ๆ ใช้ กลุ่มดาว ช่วยทำอะไรได้บ้าง

·        นักเรียน ได้เห็นกลุ่มดาวอะไรบ้าง

·        ดาวเหนือ สำคัญอย่างไร

 

---------------------------------------------------






ท้องฟ้าจำลอง เครื่องฉายดาว เครื่องทำท้องฟ้าจำลอง โดมท้องฟ้าจำลอง โดมเคลื่อนที่ ภาพยนตร์ฟูลโดม ดิจิทาเรียม แอนทาเรส ภาพยนตร์สำหรับท้องฟ้าจำลอง
Planetarium system inflatable dome full-dome movie fulldome productions digitarium Antares Digitarium Zeta Digitarium Gamma Digitarium Epsilon Digitarium Kappa Digitarium AEthos Digitarium Iota Digitarium Delta natural geographic mirage 3D Albedo
 Copyright ©   WWW.IN-BUDGET.NET 2550 - 2567   E-mail : info@in-budget.com Tel : 02 740 2746-7 Mobile : 086 565 8072